0
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะกรบ
ที่อยู่ 9/3 ม.5 ต.ตะกรบ อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
เบอร์โทรติดต่อ 077-951652
อีเมลล์ : [email protected]
พิกัดที่อยู่ : 9°28'58.0"N 99°13'54.7"E
0
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโมถ่าย
ที่อยู่ 102 หมู่ที่ 2 ตำบลโมถ่าย อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
เบอร์โทร 077-454079
E-mail : [email protected]
พิกัดที่อยู่ 9.3957604,99.0991778,17z
0
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเลม็ด
เลขที่ 122 หมู่ที่ 6 ตำบลเลม็ด อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
โทรศัพท์ 077-432-047
อีเมล : [email protected]
Facebook : รพสตเลม็ด สังกัดสสอไชยา
0
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอไชยา
ที่อยู่ : ถนนรักษ์นรกิจ ตำบลตลาดไชยา อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
หมายเลขโทรศัพท์ : ๐๗๗ – ๔๓๑๕๓๕
เว็ปไซต์ : www.chaiyapho.go.th
ส่วนที่ ๑ ข้อมูลทั่วไป
๑.๑ แผนที่อำเภอไชยา
ภาพที่ ๑ แสดงที่ตั้งและอาณาเขตรับผิดชอบของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอไชยา
ส่วนที่ ๑ ข้อมูลทั่วไป
๑.๒ ประวัติอำเภอไชยา
อำเภอไชยาเดิมมีฐานะเป็นเมือง เรียกว่า “เมืองไชยา” ซึ่งเป็นเมืองหนึ่งในจำนวน ๓ เมือง ในอาณาจักรศรีวิชัยที่เจริญรุ่งเรืองมาก เป็นศูนย์กลางการปกครองเป็นศูนย์กลางการค้าขายกับต่างประเทศ และเป็นศูนย์กลางการเผยแพร่ศาสนาแต่ต่อมาปี พ.ศ. ๑๕๖๘ ได้ถูกประเทศอินเดียฝ่ายใต้เข้ายึดอำนาจไว้ได้ ทว่าก็เป็นไปชั่วคราวเท่านั้นก็สามารถรวมคนตั้งตัวได้อีก และได้ทำการรบพุ่งชิงความเป็นใหญ่ เพื่อชิงเกาะสุมาตราและแหลมมลายูกับอาณาจักรมัชปาหิต(ชวา)จนอ่อนกำลังทั้งคู่ เลยถูกอาณาจักรสุโขทัยตีได้และเข้าครอบครองไว้ทั้งหมดในปี พ.ศ. ๑๘๐๐ ดังนั้นเมืองไชยาซึ่งเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรศรีวิชัยก็ตกเป็นขอบขัณฑ์สีมา ของอาณาจักรสุโขทัยแต่บัดนั้นประวัติศาสตร์เมืองไชยาระยะต่อจากนั้นก็เงียบหายไปจนกระทั่ง ปี พ.ศ. ๒๓๒๘ พม่ายกกองทัพมาซึ่งคนไทยรู้จักกันดีในชื่อสงครามเก้าทัพบุกเข้าตีเมืองชุมพรแล้วตีเรื่อยจนถึงเมืองไชยาพร้อมกับเผาเมืองเสียจนถาวรวัตถุเป็นซากปรักหักพังเหลือไว้เป็นอนุสรณ์
เมืองไชยาสมัยต่อมาได้ตั้งเมืองอยู่ริมทะเลที่พุมเรียง แม้ว่าผู้คนจะน้อยแต่ก็มีสภาพเป็นเมือง สิ่งที่น่าสังเกตอีกอย่างหนึ่งคือเจ้าเมืองเป็นชาวบ้านไหนก็จะตั้งเมืองที่นั่นทำให้เมืองไชยามีที่ตั้งเมืองหลายแห่งครั้น ๑๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๓๓ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จมาเยี่ยมพสกนิกรชาวเมืองไชยาที่พุมเรียง ดังปรากฏในพระราชหัตถเลขาเรื่องเสด็จประพาสแหลมมลายูดังนี้ “ พักอยู่ที่พลับพลาจนบ่าย ๒ โมงจึงออกเดินไปตามถนนหน้าบ้านพระยาไชยาผ่านหน้าศาลากลางไปเลี้ยวลงที่วัด สมุหนิมิตและเข้าไปดูวัด พระสงฆ์ทั้งในวัดและวัดอื่นมานั่งรอรับอยู่ในศาลาอยู่ในศาลาเต็มทุกศาลาได้ถวายเงินองค์ละกึ่งตำลึงบ้าง องค์ละบาทบ้างทั่วหน้ากัน แล้วออกเดินต่อไปตามท้องถนนท้องตลาดตลาดเมืองไชยาไม่เป็นโรงแถวปลูกติดๆกันเหมือนเช่นเมืองสงขลาซึ่งมีจีนแห่งใดมักจะเป็นโรงแถวติดๆกันเช่นนั้นแต่ที่ตลาดเมืองไชยาขายของหน้าเรือนหรือที่ริมประตูบ้านระยะห่างๆกันมีผ้าพื้นบ้างผ้าขาวม้าราชวัตรบ้างยกไหมยกทองก็มี เป็นของทอในเมืองไชยา แต่ผ้าพื้นมีไม่มากเหมือนอย่างเมืองสงขลา มีขนมขายมาก ชื่อเสียงเรียกกันเพี้ยนๆกันไปกับที่เมืองสงขลา บ้านเรือนก็ดูหนาแน่นมีเรือนฝากระดานบ้าง แต่ตีรั้วหน้าบ้านโดยมากที่เกือบจะสุดปลายตลาดมีวัดโพธาราม เป็นวัดโบราณที่มีพระครูกาแก้วทองอยู่ พระอุโบสถหลังคาชำรุดยังแต่ผนังมุงจากไว้ พระครูกาแก้วอายุ ๘๐ ปี ตาไม่เห็น หูตึง แต่รูปร่างยังอ้วนพีเปล่งปลั่งจำกาลเก่าได้มากค่อนข้างจะแข็งแรง เรียบร้อย เป็นคนช่างเก็บของเก่า เมื่อครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนั่งเกล้า เจ้าอยู่หัวมีผ้ากราบปักเป็นต้น ก็ยังรักษาไว้ได้และเล่าเรื่องราวในการงานที่มีที่กรุงเทพฯประกอบสิ่งของได้ ด้วย เรียกชื่อคนทั้งชั้นเก่าชั้นใหม่เต็มชื่อเสียงแม่นยำได้สนทนากันก็ออกชอบใจจึงรับที่จะปฏิสังขรณ์พระอุโบสถซึ่งพระครูได้ตระเตรียมไว้บ้างแล้วนั้นให้สำเร็จ ได้มอบการให้พระยาไชยาเป็นผู้ทำเพราะอิฐกระเบื้องเขามีอยู่แล้ว และได้ถวายเงินพระครูชั่งห้าตำลึงข้างในเรี่ยรายกันเข้าในการปฏิสังขรณ์บ้างเจ้าสายมาทำบุญวันเกิดที่วัดนี้ได้ถวายเงินในการปฏิสังขรณ์สองชั่ง รวมเงินประมาณสี่ชั่ง ออกจากวัดเดินไปจนสุดตลาด ยังมีทางต่อไปอีกหน่อยจึงจะถึงทุ่ง ไชยา ตั้งแต่บ้านพระยาไชยาไปจนถึงทุ่งไชยาประมาณ ๓๐ เส้น กลับทางเดิมมาพักที่พลับพลา พระยาศักดิ์วามดิฐ เป็นผู้ช่วยพระยาไชยาจัดการเลี้ยงทั่วไป อยู่ข้างจะดีกว่าทุกแห่ง เวลา ๕ โมงครึ่งกลับมาเรือ”
เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๐ ก็จัดเขตการปกครอง ออกเป็นมณฑลจึงรวมเมืองไชยาเข้ากับเมืองชุมพร เมืองหลังสวน รวมเรียกว่ามณฑลชุมพร มีศาลาการตั้งอยู่ที่เมืองชุมพร ต่อมาปี พ.ศ. ๒๔๔๒ ก็ประกาศรวมเมืองไชยาและเมืองกาญจนดิษฐ์เข้าเป็นเมืองเดียวกัน มีศาลากลางตั้งอยู่ที่บ้านดอนแล้วเรียกเมืองนี้ว่า “เมืองไชยา” ส่วน ที่พุมเรียงให้เรียกอำเภอพุมเรียง แต่ราษฎรก็ยังเรียกว่าเมืองไชยาอยู่ มิได้เรียกเมืองไชยาที่ตั้งที่บ้านดอนว่า เมืองไชยา จึงแก้ไขให้เรียกเมืองที่ตั้งที่บ้านดอนว่า “สุราษฎร์ธานี” และเปลี่ยนนามอำเภอพุมเรียงว่า “อำเภอเมืองไชยา” มีพื้นที่ทั้งอำเภอ ๑,๐๐๔ ตารางกิโลเมตร
คำขวัญอำเภอไชยา
พระบรมธาตุคู่เมือง รุ่งเรืองพุทธศาสน์ พุทธทาสปราชญ์โลก สวนโมกขพลาราม
ลือนามศรีวิชัย ผ้าไหมพุมเรียง ทะเลเคียงหาดทราย แหล่งซื้อขายไข่เค็ม
๑.๓ ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอไชยาเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสุราษฎร์ธานี อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร ๖๑๔ กิโลเมตร ห่างจากอำเภอเมืองไปทางทิศเหนือ ๓๘ กิโลเมตร ห่างจากฝั่งทะเลประมาณ ๗ กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ อำเภอท่าชนะ
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อ่าวไทย
ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอท่าฉาง
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อำเภอกะเปอร์ (จ.ระนอง) และอำเภอพะโต๊ะ (จ.ชุมพร)
๑.๔ ลักษณะทางภูมิศาสตร์
ลักษณะภูมิประเทศ
ท้องที่อำเภอไชยาแบ่งออกเป็นสามตอน คือทางทิศตะวันออกซึ่งติดกับทะเลเป็นที่ราบน้ำเค็ม มีป่าไม้ชายเลน ไม้เบญจพรรณ และทุ่งหญ้าที่ไม่สามารถเลี้ยงสัตว์ได้ ตอนกลางเป็นที่ราบลุ่ม เดิมมีน้ำไหลผ่านตลอดทั้งปี แต่ปัจจุบันน้ำจะแห้งในระหว่างเดือน ๕ และเดือน ๖ ทางทิศตะวันตกเป็นที่ราบสูง ประกอบด้วยภูเขาและป่าไม้ พื้นที่ตอนนี้เป็นสวนยางและสวนผลไม้ยืนต้นทั่วไป
ลักษณะภูมิอากาศ
มีฝนตกชุกเกือบตลอดปี เพราะตั้งอยู่ในคาบสมุทรจึงได้รับลมมรสุมเต็มที่ มีเพียง ๒ ฤดู คือ ฤดูแล้งและฤดูฝน ซึ่งเริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายนและเดือนพฤษภาคมถึงเดือนธันวาคมตามลำดับ
ลำน้ำสำคัญ
อำเภอไชยามีลำน้ำสำคัญ ๒ สาย คือ
- คลองไชยา ต้นกำเนิดจากแพรกหรือแควต่าง ๆ ในทิวเขาแดนซึ่งเป็นทิวเขากั้นระหว่างอำเภอกะเปอร์ (จังหวัดระนอง) กับอำเภอไชยา ไหลผ่านตำบลโมถ่าย ตำบลป่าเว ตำบลเวียง แล้วไหลผ่านแยกลงทะเลที่ ปากน้ำท่าปูนและปากน้ำไชยา ตำบลเลม็ด เมื่อ ๑๐๐ ปีก่อนเรือใบสามารถแล่นมาถึงวัดพระบรมธาตุได้
- คลองตะเคียน ต้นกำเนิดจากทิวเขาจอมสีในอำเภอท่าชนะ ไหลเขาสู่อำเภอไชยาที่ตำบลป่าเว ผ่านตำบลตลาด ตำบลทุ่ง และไหลออกปากน้ำที่ตำบลพุมเรียง
- ศาสนา
ประชากรอำเภอไชยาส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ คิดเป็นร้อยละ ๙o.oo นับถือศาสนาอิสลาม คิดเป็นร้อยละ ๙.oo และนับถือศาสนาคริสต์ คิดเป็นร้อยละ ๑.oo
๑.วัด จำนวน ๓๗ วัด
๒.สำนักสงฆ์ จำนวน ๔ แห่ง
๓.มัสยิด จำนวน ๑๑ แห่ง
๑.๙ การเมืองการและการปกครอง
อำเภอไชยาแบ่งเขตการปกครองออกเป็น ๙ ตำบล ๕๔ หมู่บ้านได้แก่
|
๘. โมถ่าย (Mo Thai) จำนวน ๖ หมู่บ้าน
๙. ปากหมาก (Pak Mak) จำนวน ๗ หมู่บ้าน
การปกครองส่วนท้องถิ่นของอำเภอไชยาประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ๙ แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลตลาดไชยาครอบคลุมพื้นที่ตำบลตลาดไชยาทั้งตำบลและบางส่วนของตำบลเลม็ด
- เทศบาลตำบลพุมเรียงครอบคลุมพื้นที่ตำบลพุมเรียงทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลเวียงครอบคลุมพื้นที่ตำบลเวียงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเลม็ดครอบคลุมพื้นที่ตำบลเลม็ด (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลตลาดไชยา)
- องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลป่าเวครอบคลุมพื้นที่ตำบลป่าเวทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลตะกรบครอบคลุมพื้นที่ตำบลตะกรบทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลโมถ่ายครอบคลุมพื้นที่ตำบลโมถ่ายทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลปากหมากครอบคลุมพื้นที่ตำบลปากหมากทั้งตำบล
๑.๑o ขนบธรรมเนียมประเพณี
อำเภอไชยาส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธขนบธรรมเนียมและความเชื่อจึงมีพื้นฐานมาจากศาสนา และยังเป็นแหล่งที่มีวัฒนธรรมที่เก่าแก่ตั้งแต่สมัยศรีวิชัย และเป็นพื้นที่ที่มีวัดพระบรมธาตุไชยาซึ่งเป็นวัดอารามหลวง ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของประชาชน ประเพณีที่สำคัญและจัดงานเพื่อสืบสานประเพณีทุกปีคือ งานเทศกาลวันไข่เค็มและของดีเมืองไชยาจะจัดในเดือนสิงหาคม งานชักพระ ทอดผ้าป่า ประเพณีวันสารทเดือนสิบหรือประเพณีรับส่งตายายจะจัดในเดือนตุลาคมนอกจากนั้นก็จัดประเพณีตามปกติ เช่น ปีใหม่ สงกรานต์ และวันสำคัญต่างๆ
ส่วนศาสนาอิสลามก็มีขนบธรรมเนียมประเพณีคือ การถือศีลอดและวันฮารีลายอ โดยจัดในช่วงเดือนกันยายน – สิงหาคมของทุกปี
๑.๑๑ สถานที่ท่องเที่ยว
เนื่องจากไชยาเป็นเมืองเก่าแก่ ดังนั้นจึงมีสถานที่โบราณและสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญอยู่หลายแห่ง เช่น
วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร
ตั้งอยู่ในเขตตำบลเวียง อำเภอไชยาริมถนนใหญ่ทางเข้าอำเภอไชยาห่างจากที่ตั้งอำเภอไชยา ๑ กม. องค์พระเจดีย์เป็นโบราณสถานที่สร้างขึ้นตามแบบลัทธิมหายาน ตั้งแต่ครั้งอาณาจักรศรีวิชัยรุ่งเรืองรอบองค์พระธาตุมีเจดีย์เล็กๆ ๔ ทิศ ล้อมรอบด้วยวิหารคดซึ่งประดิษฐานพระพุทธรูปเก่าแก่ขนาดต่างๆ โดยรอบทั้ง ๔ ด้านพระธาตุไชยานับเป็นปูชนียสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนาของจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นเจดีย์บรรจุพระบรมสาริกธาตุแบบศรีวิชัย มีอายุประมาณ ๑,๒๐๐ ปี
วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร
วัดเวียง
ตั้งอยู่ตำบลตลาดไชยา บริเวณเคยเป็นเมืองเก่า เชื่อกันว่าเดิมเป็นวังของกษัตริย์ศรีวิชัย สร้างเมื่อพ.ศ. ๑๗๒๖ ปัจจุบันโบราณสถานวัดเวียงเป็นที่ตั้งของวัดเวียงที่มีภิกษุจำพรรษาโบราณสถานวัดเวียงมีการก่อสร้างวิหารครอบทับตัวโบราณสถานสามารถพบโบราณวัตถุทั่วไปตามพื้นเช่น ชิ้นส่วนทางสถาปัตยกรรม กรอบประตู เป็นต้นและภายในวัดมีการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไชยาจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้พื้นบ้านและโบราณวัตถุต่างๆที่พบในวัดเวียง
วัดเวียง
สวนโมกขพลาราม (วัดธารน้ำไหล)
เดิมตั้งอยู่ที่ตำบลพุมเรียง ปัจจุบันได้ย้ายมาอยู่ท้องที่ตำบลเลม็ด ริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑ เป็นสำนักสงฆ์ตั้งอยู่ที่ในอุทยานที่สวยงามตามธรรมชาติ มีลำธารเล็ก ๆ ไหลผ่าน เป็นที่สงบร่มเย็นเหมาะแก่การปฏิบัติธรรมและท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
สวนโมกขพลาราม (วัดธารน้ำไหล)
สวนโมกข์นานาชาติ
ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑ เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมและอบรมธรรมะให้กับชาวต่างประเทศที่สนใจอีกทั้งที่บริเวณใกล้เคียงจะมีบ่อน้ำพุร้อนให้ทุกท่านสามารถอาบได้
สวนโมกข์นานาชาติ
บ่อน้ำพุร้อน
อยู่ที่ตำบลเลม็ด ห่างจากที่ว่าการอำเภอประมาณ ๒ กิโลเมตร ตรงเชิงเขาบ่อร้อนและน้ำพุร้อนผุดจากใต้ภูเขาตลอดเวลาอุณหภูมิประมาณ ๕๐ องศาเซลเซียส น้ำพุร้อนที่ผุดออกมานั้นถือเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์กษัตริย์ในสมัยนั้นจึงได้สร้างสระไว้สำหรับอาบน้ำ
ป่าไทรงาม
อยู่ที่ตำบลเลม็ด มีต้นไทรขึ้นหนาแน่นดูจนคล้ายเป็นป่า มีแม่น้ำคลองไชยาตอนแยกไปคลองท่าปูนไหลผ่านเป็นที่สวนที่ร่มรื่น เหมาะแก่การพักผ่อน
ผ้าไหมพุมเรียง
พุมเรียงชุมชนเก่าแก่ที่มีมาแต่โบราณตั้งอยู่ริมคลองพุมเรียงซึ่งไหลลงทะเลที่แหลมโพธิ์แหล่งจอดเรือสินค้า ในเส้นทางการค้าข้ามสมุทรตั้งแต่สมัยโบราณซึ่งเป็นเส้นทางการเดินเรือสินค้าจากจีนไปยังอินเดียและตะวันออกกลาง ที่พุมเรียงมีผ้าไหมพุมเรียง เป็นงานฝีมือล้วนๆที่ทอด้วยมือเป็นงานฝีมือแบบดั่งเดิมที่ต้องใช้ความประณีตและประสบการณ์ในการทอและที่สำคัญงานแต่ละชิ้นแต่ละผืนจะใช้เวลาทอที่ยาวนานกว่าการทอด้วยวิธีอื่นผ้าลายดอก หรือที่เรียกว่าผ้ายกดอกจะทอได้อย่างมากแค่วันละประมาณครึ่งหลาหรือประมาณ ๒ คืบเท่านั้นเองเป็นการทอด้วยมือที่ใช้วิธีโยกลูกกระสวยสลับไปมา ซ้าย-ขวาต่างจากการทอด้วยกี่กระตุกที่ใช้มือดึงหรือกระตุกเชือกเพื่อให้ลูกกระสวยวิ่งสลับไป-มา ด้วยเครื่องผ้ายกดอกเป็นผ้าที่ต้องการความละเอียดประณีตในระหว่างการทอและมีลวดลายสวยงาม จึงทำ ให้เป็นผ้าไหมที่มีราคาแพงกว่าผ้าสีพื้นซึ่งตกราคาหลาละประมาณ ๓ พันกว่าบาทขึ้นไป หากเป็นผ้าที่มีลวดลายสวยงาม ราคาก็จะแพงขึ้นไปอีกจนถึง ๕ พันบาททุกวันนี้ร้านขายผ้าไหมที่พุมเรียงมีอยู่ไม่เกิน ๑๐ ร้านส่วนใหญ่เป็นร้านของชาวไทยอิสลามที่ถ่ายทอดการทอผ้าไหมและการทำธุรกิจค้าผ้าไหม
บ่อน้ำมูรธาภิเษก
อยู่ที่ตำบลทุ่ง เป็นบ่อน้ำที่ใช้ในพระราชพิธีมูรธาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
แหลมโพธิ์
ตำบลพุมเรียง เป็นสถานที่ท่องเที่ยวชายทะเลของไชยาอยู่ห่างจากบ้านพุมเรียงประมาณ ๒ กม. ในประวัติศาสตร์จากการค้นพบซากเรือและสิ่งของที่จมอยู่ทำให้เชื่อว่าบริเวณนี้จะมีบทบาทสำคัญในการเป็นเมืองท่าของการค้าทางทะเลมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๘ เลยมาจนถึงในสมัยอยุธยาเมื่อคราวสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชนำพลมาปราบทัพเมืองนครศรีธรรมราชก็ยกพลมาขึ้นบกแถวนี้
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติไชยา
ตั้งอยู่ที่วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหารตำบลเวียง เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประเภทประวัติศาสตร์และโบราณคดีอาคารหลังแรกด้านหน้าจัดแสดงประติมากรรมศิลาและสำริดที่ค้นพบในเมืองไชยาได้แก่เทวรูปพระนารายณ์พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ส่วนอาคารที่สองเป็นที่จัดแสดงหลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ตั้งแต่สมัยทวาราวดี ศรีวิชัยลพบุรี สุโขทัย อยุธยา นอกจากนี้ยังจัดแสดงงานประณีตศิลป์ต่างๆ อีกมากมายพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติไชยา เปิดบริการตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐-๑๖.๐๐ น.ปิดวันจันทร์ วันอังคาร ส่วนค่าบริการเข้าชม ชาวไทย ๕ บาท ชาวต่างประเทศ ๑๐ บาท
น้ำตกโตนเรือบิน
ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 7 ต.ปากหมาก อ.ไชยา จ.สุราษฏร์ธานี